ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
โรงเรียนบ้านดุงวิทยา ได้รับอนุมัติจากกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้เปิดสาขา เมื่อ ปี พ.ศ. 2537 ที่หมู่ 4 บ้านคำสง่า ตำบลนาคำ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ห่างจากโรงเรียนบ้านดุงวิทยา 12 กิโลเมตร โรงเรียนบ้านดุงวิทยาสาขาตำบลนาคำ โดยนายวุฒิชัย บุญบุตตะ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดุงวิทยา ได้มีคำสั่งโรงเรียนบ้านดุงวิทยาที่ 88/2537 ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2537 ให้ นายกลยุทธ มูลสาร อาจารย์ 2 ระดับ 7 เป็นผู้ประสานงานและหัวหน้าสาขา โดยได้รับมอบที่ดินจากสภาตำบลนาคำซึ่งเป็นที่สาธารณะประโยชน์ติดถนนสายอุดรธานี - สุมเส้า - บ้านดุง มีเนื้อที่ 48 ไร่ สภาตำบลนาคำ โดยนายฝอยทอง พังคะบุตร กำนันตำบลนาคำ ได้นำชาวบ้านทุกหมู่บ้านในการก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขนาด 8 × 10 เมตร จำนวน 5 ห้องเรียน เป็นเงินทั้งสิ้น 350,000 บาท มอบให้ทางโรงเรียนเพื่อใช้ ในการเรียนการสอนปัจจุบัน
ในครั้งแรกที่ยังไม่มีอาคารเรียนเป็นเอกเทศได้รับความอนุเคราะห์จาก นายจาตุรงค์ จันทร์ชมภู อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านชัย สังกัด สปอ. บ้านดุง อนุญาตให้ใช้อาคารอเนกประสงค์ของโรงเรียนเพื่อเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียน ซึ่งมีโรงเรียนโนนสะอาดชุมแสงวิทยาเป็นโรงเรียนพี่เลี้ยงและนายสวัสดิ์ สมวัชรจิตร ผู้อำนวยการได้จัดส่งครู-อาจารย์มาช่วยสอนวันที่ 10 สิงหาคม 2540 ระทรวงศึกษาธิการประกาศจัดตั้งโรงเรียนรัฐบาลเป็น “ โรงเรียนชัยนาคำวิทยา ” กรมสามัญศึกษา โดยมีนายวุฒิชัย บุญบุตตะ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้บริหารโรงเรียนและมอบหมายให้ นายกลยุทธ มูลสาร เป็นผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษา วันที่ 28 ตุลาคม 2540 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้ง นายกลยุทธ มูลสาร อาจารย์ 2 ระดับ 7 ตำแหน่ง ครูใหญ่ระดับ 7 โรงเรียนชัยนาคำวิทยา เป็นครูใหญ่คนแรกตามคำสั่งกรมสามัญศึกษาที่ 4286/2540 ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2540 และในปีการศึกษา 2542 เป็นปีแรกที่โรงเรียนเปิดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 2 ห้อง และวันที่ 1 เมษายน 2550 ได้ถ่ายโอนสู่ สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ปี 2566 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนชัยนาคำวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 3 จากอดีตจนถึงปัจจุบัน โรงเรียนชัยนาคำวิทยามีผู้บริหารโรงเรียน ทั้งสิ้น ๔ คน
ผู้บริหารโรงเรียน
นายกลยุทธ มูลสาร ผู้อำนวยการ
นายไสว ตราศรี ผู้อำนวยการ
นายอาทิตย์ เนตรภักดี ผู้อำนวยการ
นายปฏิพล แก้วมูลตรี รองผู้อำนวยการโรงเรียน รักษาราชการแทนผู้อำนวยการโรงเรียนชัยนาคำวิทยา
ปัจจุบัน นายวีระศักดิ์ สุธรรมฤทธิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนชัยนาคำวิทยา
นายชูพงษ์ บุตรแก้ว รองผู้อำนวยการโรงเรียนชัยนาคำวิทยา
ข้อมูลพื้นฐาน
โรงเรียนชัยนาคำวิทยา ตั้งอยู่เลขที่ 170 หมู่ที่ 4 บ้านคำสง่า ถนน บ้านดุง - สุมเส้า ตำบลนาคำ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี รหัสไปรษณีย์ 41190 โทรศัพท์ 042 219 937 โทรสาร 042 219 937 E-mail : chainakam@gmail.com สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี
เปิดสอนตั้งแต่ระดับ ม.1 ถึงระดับ ม.6 เนื้อที่ 48 ไร่
อักษรย่อของโรงเรียนชัยนาคำวิทยา
ชนย.อบจ.อด.3
เครื่องหมาย /ต้นไม้ประจำโรงเรียน
ต้นประดู่
วิสัยทัศน์
ภายในปี 2566 โรงเรียนชัยนาคำวิทยา จัดการศึกษาได้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านดนตรีไทยพื้นบ้าน ดนตรีสากล และ กีฬา ชุมชนและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งสู่ Thailand 4.0
อัตลักษณ์โรงเรียน
“ มีวินัย ใส่ใจ กีฬา รักษาความเป็นไทย ”
เอกลักษณ์ของโรงเรียน
“ส่งเสริมศิลปะ ดนตรี กีฬา และส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ”
พันธกิจ (Mission)
1. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้พร้อมต่อการจัดการศึกษาทั้งในและนอกระบบอย่างมีคุณภาพ
2. จัดหาอาคารสถานที่ แหล่งเรียนรู้ ทรัพยากรทางการศึกษาให้พร้อมต่อการจัดการศึกษา
3. ส่งเสริมพัฒนาสมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
4. พัฒนาทักษะกระบวนการคิดมุ่งสู่งานอาชีพ
5. สรรหาและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีศักยภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
6. สร้างความเข้มแข็งการมีส่วนร่วมของชุมชนภาคีเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง
เป้าประสงค์ (Goal)
1. นักเรียนมีความรู้ ความสามารถทางวิชาการตามมาตรฐาน ( กลุ่มสาระ สมศ.และชาติ)
2. นักเรียนมีทักษะพื้นฐานทางวิชาชีพตามศักยภาพ
3. นักเรียนมีทักษะกระบวนการคิดและการแก้ปัญหา
4. นักเรียนมี คุณธรรม จริยธรรม มีวินัย มีความรับผิดชอบ
5. นักเรียนได้รับการพัฒนา ส่งเสริมความ เป็นเลิศตามความถนัด
6. นักเรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ (IT)
7. นักเรียนมีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
ปรัชญาของโรงเรียน ปรัชญา ปญญวา ปน อุตตโม หมายถึง ผู้มีปัญญาเป็นที่สูงสุด
คำขวัญของโรงเรียน คุณธรรม นำวิชา กีฬาเด่น
สีประจำโรงเรียน "แสด – แดงเลือดหมู "
ปัจจุบันเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นโรงเรียนมัธยม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ข้อมูลที่ตั้ง ตั้งอยู่เลขที่ 170 ถนนสุมเส้า – บ้านดุง ตำบลนาคำ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี รหัสไปรษณีย์ 41190 โทรศัพท์/โทรสาร 082-212-4861
email : chainakam@gmail.com เว็บไซด์ www.chainakamwittaya.ac.th
ข้อมูลผู้บริหารปัจจุบัน
นายวีระศักดิ์ สุธรรมฤทธิ์ วุฒิการศึกษาสูงสุดปริญญาโท สาขา สาขาบริหารการศึกษา ครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี : ผู้อำนวยการโรงเรียนชัยนาคำวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 3
ข้อมูลอาคารสถานที่
อาคารเรียน จำนวน ๔ หลัง อาคารประกอบ จำนวน 1 หลัง ส้วม 3 หลัง
สนามฟุตบอล 1 สนาม สนามฟุตซอล 1 สนามสนามเปตอง 1 สนาม
สนามตะกร้อ 1 สนาม หอประชุม 1 หลัง อาคารอเนกประสงค์ 1 หลัง
แผนที่โรงเรียน
ข้อมูลสภาพชุมชนโดยรวม
สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นทุ่งนา ป่ายูคาลิปตัส ป่าอ้อย มีประชากร ประมาณ47,000 คนบริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ทุ่งนา ป่ายูคาลิปตัส ป่าอ้อย ได้แก่อาชีพหลักของชุมชนคือ การทำนา การรับจ้างทั่วไป การทำนาเกลือ การทำไร่อ้อย ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปเทศกาลบุญบั้งไฟ ประเพณีบุญกฐิน บุญผ้าป่า บุญเผวส ประเพณีเพณีลอยกระทง ประเพณีเข้าพรรษา - ออกพรรษา ประเพณีบุญเดือนสี่พนาไฮ
ผู้ปกครองส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อาชีพหลัก คือการเกษตร ทำนาปลูกอ้อย มันสำปะหลัง และทำนาเกลือ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัวต่อปี 70,000 บาทจำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว 4 คน
โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน
สภาพเศรษฐกิจปานกลาง ประชาชนมีอาชีพที่หลากหลายทำให้โรงเรียนต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้อง กับท้องถิ่น ชุมชนมีความสามารถทางภูมิปัญญาไทย ทำให้โรงเรียนมีวิทยากรท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น ชุมชนมีการประกอบอาชีพต่างๆ โดยนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ ซึ่งโรงเรียนสามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านอาชีพของนักเรียน โรงเรียนได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากองค์กรปกครองท้องถิ่นในการสนับสนุนงบประมาณและการร่วมดูแลพัฒนาโรงเรียนและเป็นศูนย์กลางด้านวิชาการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับโรงเรียนละแวกใกล้เคียง เนื่องจากเป็นโรงเรียนใหญ่ มีครูที่มีความรู้ความสามารถทำงานจริงจังมีผลงานเชิงประจักษ์ โรงเรียนตั้งอยู่ในชุมชนในระดับตำบล ผู้ปกครองมีราย ค่อนข้างต่ำถึงปานกลางและครอบครัวที่ว่างงานชั่วคราวนิยมส่งบุตรเข้าเรียนศึกษาต่อในโรงเรียน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครอบครัว